โลโก้เว็บไซต์ จริยธรรมการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา

จริยธรรมการตีพิมพ์


 

บทบาทหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Author Ethical Responsibilities)

 

  1. บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
  2. เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และครอบคลุม 7 ประเด็นหลักตามประกาศ ก.พ.อ.
  3. บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
  4. ผู้เขียนบทความจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
  5. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง เช่น ภาพ ตาราง เป็นต้น
  6. ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
  7. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความจริง
  8. การแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการอย่างครบถ้วน แล้วส่งบทความที่แก้ไขแล้วมายังกองบรรณาธิการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือแจ้งบรรณาธิการกรณีที่ต้องการเลื่อนกำหนดส่ง หรือยกเลิกการส่งบทความ การไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าวอาจส่งผลต่อการตีพิมพ์ผลงาน หรือการตัดสินใจของบรรณาธิการ
  9. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และ/หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้องระบุในบทความ และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
  10. การกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในกิตติกรรมประกาศนั้น หากสามารถทำได้ผู้เขียนบทความควรขออนุญาตจากผู้ที่ผู้เขียนประสงค์จะขอบคุณเสียก่อน
  11. ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
  12. กรณีที่ผลงานเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง โดยการทดลองในคนอาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ขอให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ทั้งนี้ การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

 


 

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ (Editor Roles and Responsibility)

 

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคัดกรองคุณภาพของบทความให้ตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร พิจารณาคุณภาพของบทความตามหลักวิชาการ โดยใช้แบบประเมินบทความ
  2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  3. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน
  4. เลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความและอยู่คนละสังกัดกับผู้เขียน
  5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างเคร่งครัด
  6. เมื่อบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้เขียน เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์การตีพิมพ์
  7. หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลง
  8. ข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน

 


 

บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Reviewer Roles and Responsibilities)

 

  1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  2. หากผู้ประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
  3. ผู้ประเมินบทความควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
  4. ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เขียน หากมีงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินแต่ผู้เขียนยังไม่ได้อ้างถึง
  5. ส่งผลการประเมินตามระยะเวลาที่กำหนด หรือแจ้งบรรณาธิการกรณีที่ต้องการเลื่อนกำหนดการส่ง

 


 

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา